-
เกี่ยวกับ STIRC
วันที่ 13 เดือนพฤษจิกายนปี พ.ศ. 2558 วิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย – จีนได้เปิดป้ายการก่อตั้งที่กรุงเทพมหานคร โดยเป็นความร่วมมือสภาวัฒนธรรมไทย-จีน และส่งเสริมความสัมพันธ์ บริษัท รับเบอร์วัลเลย์ กรุ๊ปและสถาบันการศึกษาคือ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชิงเต่า ของประเทศจีน และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ของประเทศไทยและเริ่มดำเนินการเป็นทางการ วิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย – จีนเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของมณฑล Shandong ที่สถาปนาขึ้นในต่างประเทศ
วันที่ 21 เดือนมีนาคมปี พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชิงเต่าได้จัดพิธีลงนามความร่วมมือ (MOU) เรื่อง การร่วมมือพัฒนาวิทยาลัยนานาชาติ ยางพาราไทย-จีน ระหว่าง นายพินิจ และนายหม่า เหลียน เซียงอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชิงเต่าที่หอประชุมใหญ่วิทยาเขต Laoshan โดยมีพล.ต.อ.อัศวินขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายพินิจ จารุสมบัติ ประธานสภาวัฒนธรรมไทย – จีนและส่งเสริมความสัมพันธ์ Wan heyi รองกงสุลใหญ่ไทยประจำเมือง Qingdao นาย Liu xingyun เลขาธิการพรรค มหาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชิงเต่า นาย Ma xianglian อธิการบดีของมหาวิทยาลัย นาย Li Qingling รองเลขาธิการพรรค Zhang Yan ประธานบริษัทฯ RVG กรุ๊ป Lu Jianping รองประธานบริษัทฯ RVG กรุ๊ป เข้าพิธีร่วมกัน ในงานพิธี นาย Liu Xingyun และพล.ต.อ.อัศวินขวัญเมืองได้กล่าวคำปราศัยและแลกเปลี่ยนของที่ระลึกในงาน นายพินิจ จารุสมบัติได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีกิตติมศักดิ์ของวิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน โดย Ma Lianxiang อธิการบดีมหาลัย ได้มอบหนังสือการแต่งตั้งในพิธี มหาวิทยาลัย QUST ได้ลงนาม MOU ความร่วมมือกับสภาวัฒนธรรมไทย-จีนและส่งเสริมความสัมพันธ์ นาย Li Qingling ได้รับการมอบหมายเป็นประธานในพิธี
วิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีนสถาปนาขึ้นภายใต้ข้อเสนอความร่วมมือ“หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง”ทั้งรัฐบาลจีนและไทยได้ให้ความสำคัญอย่างมาก ถือเป็นหน้าที่และภารกิจใหม่ วิทยาลัยยึด“หนึ่งแภบหนึ่งเส้นทาง ยางพาราเป็นสื่อ การศึกษานำล่วงหน้า”เป็นจุดประสงค์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน สนับสนุนอำนวยบุคลากรด้านความร่วมมือและแลกเปลี่ยนทางด้านธุรกิจการค้า เทคโนโลยีและวัฒนธรรมระหว่างไทยกับจีน มหาวิทยาลัย QUST จะพยายามพัฒนาสาขาวิชายางพาราอย่างเต็มที่ ส่งเสริมการศึกษาสาขาวิชายางพารานานาชาติอย่างต่อเนื่องและเสริมสร้างหลักสูตร ปรับปรุงหลักสูตรการสอนให้สมบูรณ์มากขึ้นและสร้างระบบการรับประกันคุณภาพการสอน สร้างทีมงานอาจารย์ที่มีประสบการณ์ เชี่ยวชาญ สร้างเวทีการศึกษานานาชาติ สร้างวิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีนให้เป็นโครงการร่วมมือระหว่างประเทศที่มีลักษณะโดดเด่น จากรูปแบบความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างประเทศโดยรัฐบาล บริษัทฯ มหาวิทยาลัย สถาบันการวิจัย พร้อมเงินทุนพัฒนาส่งเสริมโครงการอย่างมั่นคง ความร่วมมือธุรกิจการค้าที่แน่นแท้ ประกอบให้เป็นโซ่อุตสาหกรรมที่สมบูรณ์ และอินเตอร์เน็ตยางพาราอุตสาหกรรม สามารถร่วมกันใช้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน ถือวิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีนเป็นข้อตกลงร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับจีน ร่วมกันสร้าง“กองทุนการศึกษาด้านอุตสาหกรรมยางพาราไทย-จีน”สนับสนุนการวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมยางพาราของทั้งสองประเทศ ฝึกอบรมบุคลากรให้มีทักษะอันยอดเยี่ยม แลกเปลี่ยนควมคิดเห็นทางด้านเทคนิคและสร้างสรรค์นวัตกรรม สนับสนุนติดตั้งทุนการศึกษาเฉพาะของวิทยาลัยฯ นำโดยสภาวัฒนธรรมไทย-จีนและส่งเสริมความสัมพันธ์ สร้างสภาผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาในไทยและสหพันธ์มหาวิทยาลัย นำโดยประเทศไทยพัฒนาขยายความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ประชาสัมพันธ์วิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีนในประเทศเอเซีย สร้างวิทยาลัยฯ ให้เป็นแหล่งการแลกเปลี่ยน การเยี่ยมเยือน และการศึกษาของบริษัทฯ ระหว่างไทยกับจีน ประเทศไทยเป็นประเทศผลิตยางธรรมชาติมากที่สุดในทั่วโลก ส่วนประเทศจีนเป็นประเทศบริโภคยางธรรมชาติเยอะที่สุดในโลก ไทยกับจีนร่วมมือกันในด้านการผลิตยางพาราจะทำให้ได้รับชัยชนะร่วมกันทั้งสองฝ่าย การก่อตั้งของวิทยาลัยฯ ถือเป็นตัวอย่างความร่วมมือด้านการศึกษาภายใต้ข้อเสนอ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง”ซึ่งจะส่งเสริมมิตรภาพระหว่างไทยกับจีน ผลักดันด้านธุรกิจการค้า การท่องเที่ยวให้เก้าสู่ขั้นใหม่
ณ ปัจจุบัน วิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน เปิดสาขาวิชาวัสดุพอลิเมอร์และวิศวกรรม วิชาวิศวกรรมเครื่องกล วิชาออโตเมชั่น วิชาวิศวกรรมอุตสหกรรม วิชาภาษาจีน วิชาการตลาดและวิชาธุรกิจการค้าระหว่างประเทศทั้งหมด 7 สาขาวิชา โดยมีหลักสูตร 4 ปี หลักสูตร 2 ปีระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาและกำลังขยายวิชาอื่นด้วย จนถึงเดือนมีนาคมปี พ.ศ. 2560 วิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน ได้เริ่มต้นการเปิดรับสมัครนักศึกษาระดับอุดมศึกษาและนักศึกษาใหม่ชุดแรกกำลังจะเข้าเรียนในวิทยาลัยฯ ในรูปแบบการเรียน “2+2”นักศึกษาชุดแรกจะรับสมัครโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งจะรับตามคะแนนและเกร็ดในการสอบ นักศึกษาที่เข้าเรียนในโครงการนี้ ช่วงสองปีแรกจะเรียนวิชาพื้นฐานและวิชาภาษาจีนในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หลังจากบรรลุเงื่อนไขในการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชิงเต่าแล้ว จะถูกคัดเลือกให้มาเรียนต่ออีก 2ปีที่มหาวิทยาลัยฯ หลังจากเรียนจบในรูปแบบ“2+2”และได้มาตรฐานการยอมรับให้สำเร็จการศึกษาจากทั้งสองมหาวิทยาลัย ได้เกร็ดผ่านตามที่หลักสูตรกำหนดไว้ จะได้รับใบประกาศนียบัตรจากทั้งสองมหาวิทยาลัย